วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อินโดนีเซีย (Indonesia)










สาธารณรัฐอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (Indonesia)

 
อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: Kalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: Irian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ (อินโดนีเซีย: Timor)


                                                                      ประวัติศาสตร์

 
                                   วัดปุรา ตามัน อยุน จังหวัดบาหลี เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรบาดุง

          อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
          เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
          ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

การเมืองการปกครอง

ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ


การแบ่งเขตการปกครอง
ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions - daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่







ทรัพยากรและเศรษฐกิจ






  • ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง
  • แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
  • เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ
  • ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก
  • อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น
  • ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
    ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา


    1. ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
    2. พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร
    3. ลักษณะภูมิประเทศ
    เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย
    กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
    - หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
    - หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
    - หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
    - อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี

     



    4. ลักษณะภูมิอากาศ
    มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน
    5. เมืองหลวง
    จาการ์ตา (Jakarta)



    จากาตาร์เมืองหลวงของอินโดนีเซีย
     




    6. ประชากร
    ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา
    ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา




            
    7. การเมืองการปกครอง

    ปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

    ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) (ตุลาคม 2547)

    8. ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia

    9. ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ

     






    10. เศรษฐกิจ
    เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นแหล่งสำคัญที่สุดในการทำรายได้ให้อินโดนีเซีย นับแต่ยุคหลังได้รับเอกราชตลอดมา ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียได้นำรายได้มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการขนส่งและการคมนาคมสร้างฐานอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง มุ่งหวังสร้างความแข็งแกร่งให้กับการอุตสาหกรรมของประเทศ ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในตลาดโลกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523 2527 ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซีย รัฐบาลจึงหันมาส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการผลิต เพื่อลดการพึ่งพา รายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ แร่โลหะที่มีค่า สินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งพัฒนาภาคเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้อินโดนีเซียมีข้าวเพียงพอสำหรับเลี้ยงตนเองได้โดยไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไป ยกเว้นบางปีที่ผลผลิตข้าวไม่ดี ขณะเดียวกันรายได้จากการ ส่งออกสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะสินค้า อุตสาหกรรมได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญในปัจจุบัน โดยคิดเป็นร้อยละ 75 ของสินค้าออก ทั้งหมด



    11. สกุลเงิน
    รูเปียห์ (Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)



    12. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
    ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา
     
     
    สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ( Republic of Indonesia)
    ประเทศอินโดนีเซียเป็นรัฐหมู่เกาะ ประกอบด้วยเกาะ ขนาดต่างๆ มากกว่า 17,508 เกาะ ตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อ ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพาน เชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถ ควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่อง แคบที่สำคัญต่างๆ เช่นช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่อง- แคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ประชากรทั้งหมดประมาณ 226 ล้านคน มีค่า GDP 837.74 พันล้านดอลลาร์- สหรัฐ

    อินโดนีเซียเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสำคัญประกอบด้วย น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรประมง จำนวนมากอีกด้วย

    อินโดนีเซียมีความยาวชายฝั่งทะเล 81,000 กิโลเมตร ซึ่งภายหลังจากที่อินโดนีเซียประกาศเขต เศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล ทำให้อินโดนีเซียมีพื้นที่ทางทะเลมากถึง 5.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีผลผลิต สูงถึง 6.4 ล้านตัน สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ ปลาหน้าดิน หมึก ปลาทูน่าท้องแถบ ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน กุ้งมังกร ปลาผิวน้ำขนาดเล็ก และสาหร่ายทะเล เป็นต้น พื้นที่ทำการประมงที่ สำคัญในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของอินโดนีเซีย สำหรับปลาหน้าดิน ได้แก่ บริเวณหมู่เกาะนาทูน่าในทะเลจีนใต้ และในทะเลอาราฟูร่า ส่วนการ ประมงปลาผิวน้ำขนาดใหญ่ทำกันแพร่หลายในบริเวณทะเลสุลาเวลี และ มหาสมุทรแปซิฟิก และในมหาสมุทรอินเดีย

    อินโดนีเซียมีเรือประมง 7.3 แสนลำในปี 2547 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากการพัฒนา ด้านเครื่องยนต์ที่มีมากขึ้น มีการจัดการประมงโดยใช้มาตรการการให้โควต้าโดยอ้างอิงจากจำนวนที่สามารถ จับได้ คิดจาก 80 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่คาดการไว้ โดยประมาณผลผลิตที่อนุญาตให้จับได้อยู่ที่ประมาณ 6.4 ล้านตันต่อปี และมีการบังคับใช้ใน 9 แหล่งทำการประมงของประเทศ ในปี 2547 คิดผลผลิตทางการ ประมงเป็นสัดส่วนประมาณ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ของทั้งประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ( Republic of Indonesia)

    การประมงไทยในอินโดนีเซีย
    รูปแบบการเข้าทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย เปิดโอกาสให้เรือประมงไทยเข้าไปได้ 3 ลักษณะ คือ
    1) การลงทุนร่วม (joint venture)
    2) การเช่าซื้อเรือประมง (purchase on installment) และ
    3) การให้สัมปทาน การทำประมง (licensing) โดยเงื่อนไขการให้สัมปทานจะขี้นอยู่กับปริมาณทรัพยากรที่มีในเขตเศรษฐกิจ- จำเพาะและต้องมีข้อตกลงระหว่างรัฐทั้งสอง

    การลงทุนร่วม (Joint Venture)
    การทำประมงในอินโดนีเซียสามารถดำเนินการได้ ภายใต้กรอบการลงทุนร่วม โดยให้ผู้ประกอบการไทยร่วมกับ ผู้ประกอบการอินโดนีเซียยื่นจดทะเบียนตั้งบริษัทร่วมทุน (อินโดนีเซีย) ตามกฎหมายการลงทุนสำหรับคนต่างชาติ เพื่อ ประกอบธุรกิจด้านการประมง โดยบริษัทไทยสามารถใช้ เรือประมงเป็นทุนในการร่วมจดทะเบียน

    ขณะนี้ได้มีเรือประมงไทยทำการประมงภายใต้ความร่วมมือรัฐต่อรัฐในรูปแบบสัมปทานประมงแล้ว จำนวน 315 ลำ เป็นเรืออวนลาก 304 ลำ และเรืออวนลอย 11 ลำ อย่างไรก็ดีมีแนวโน้มในอีก 3-5 ปี ที่ทาง อินโดนีเซียอาจยกเลิกระบบการให้สัมปทานกับเรือต่างชาติ และหันมาใช้การลงทุนร่วมเป็นหลัก เพื่อ ส่งเสริมการผลิต และอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศ ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยจึงควรปรับตัวในทิศทาง ดังกล่าวด้วย

    สัมปทานประมง (Licensing)
    ในเดือนกรกฎาคม 2545 มีการจัดการประชุมคณะอนุกรรมการ ด้านการประมงไทย-อินโดนีเซีย ผลจากการประชุมทำให้ประเทศไทย ได้รับสัมปทานประมงในบริเวณทะเลจีนใต้ให้แก่เรือประมง เรือไม้ ขนาด 60-150 ตันกรอส หรือเรือประมงเหล็กขนาด 100-400 ตันกรอส รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,000 ตันกรอส โดยเงื่อนไขในทางปฏิบัติในการที่ เรือประมงไทยจะเข้าไปทำการประมงในอินโดนีเซียที่สำคัญ คือ ต้องผ่านการตรวจสอบและออกหนังสือ รับรองโดยกรมประมงไทยก่อน อินโดนีเซียถึงจะรับพิจารณา ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐต่อรัฐมีส่วนในการควบคุมเรือประมงร่วมกัน และได้มีการ เพิ่มเติมประเภทเครื่องมืออวนลอย อวนลาก 4,000 และ 16,900 ตันกรอส ในทะเลจีนใต้ และทะเลอาราฟูร่า ตามลำดับ อวนลอย 2,130 ตันกรอส เฉพาะในทะเลอาราฟูร่า อวนลอย 1,720 ตันกรอส เฉพาะในทะเลจีนใต้ ได้ในปี 2546

    เมื่อปี 2544 ได้มีการประชุมสภารัฐมนตรีของสมาคมความร่วมมือแห่งมหาสมุทรอินเดีย (IOR-ARC) ณ กรุงมัสกัต ประเทศโอมาน ผลการประชุมเรื่องการประมงคือ ไทยได้ขอให้อินโดนีเซียผ่อนผันกฎระเบียบ ที่กำหนดให้ใช้เรือเหล็กสำหรับเรือประมงต่างชาติ ที่จะเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียแก่ เรือประมงไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้ และแจ้งให้ฝ่ายอินโดนีเซียทราบว่า ฝ่ายไทยจะขึ้นทะเบียน เรือประมงของไทยทั้งหมดและจะคอยติดตามการทำประมงของเรือดังกล่าวด้วย ฝ่ายอินโดนีเซียเสนอให้มี การทำการค้าต่างตอบแทนเหมือนเช่นกรณีการซื้อเครื่องบิน 2 ลำของอินโดนีเซียแลกกับการซื้อข้าวจากไทย ในอดีต ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่าจะหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป

    ล่าสุดนี้( 20 มิถุนายน 2550) รัฐบาลอินโดนีเซียได้ยกเลิก ระบบการออกใบอนุญาตทำประมง(ใบอนุญาตจับปลา) และมีการ บังคับใช้กฎหมายประมงระบบบูรณาการ (Integrated Fisheries) ซึ่ง เป็นระบบการร่วมทุนกับอินโดนีเซีย ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 โดยเจ้าของเรือประมงไทยจะต้องโอนเรือประมง ไปเป็นทุนร่วมกับบริษัทผู้ประกอบการในอินโดนีเซียหรือบริษัท ผู้ประกอบการธุรกิจประมงในอินโดนีเซียเช่าเรือประมงไทยไปทำประมงในอินโดนีเซียเท่านั้นอินโดนีเซียมีทรัพยากรประมงทะเลที่หลากหลาย ซึ่งเปิดโอกาสให้มีกิจกรรมทางการประมงที่ หลากหลายได้
    • รูปแบบการเข้าไปทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียเปิดโอกาสให้เรือประมงไทยเข้าไปได้ 3 วิธี นอกจากนี้ถ้าเป็นเรือชักธงต่างชาติยังไม่ต้องเสียภาษีการส่งออกสัตว์น้ำ และได้รับการคุ้มครองดูแลจาก ทางการของอินโดนีเซียด้วย
    • รูปแบบการลงทุนร่วม และการซื้อขายเรือ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนชาวไทย ในกรณีที่ต้องการใช้ สิทธิประโยชน์ที่ทางการอินโดนีเซียจัดสรรให้กับคนอินโดนีเซีย การดำเนินการภายใต้รูปแบบการ ลงทุนร่วม ผู้ประกอบการไทยสามารถร่วมลงทุนในสัดส่วนที่ยืดหยุ่นมาก (ลงทุนในอัตราส่วนมากกว่า หรือน้อยกว่าผู้ประกอบการอินโดนีเซียก็ได้)
    • รูปแบบการซื้อขายเรือก็เป็นการเปิดโอกาสให้มีการขายเรือไทยที่มีจำนวนมากให้กับผู้ประกอบการ อินโดนีเซียเพื่อใช้ทำการประมง

    เรื่องเล่าจากอินโดนีเซีย



    อินโดนีเซีย ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในกลุ่มประเทศอาเซียน ดินแดนแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม แหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งในภูมิภาค

    อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทและความสาคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดของเศรษฐกิจและตลาดที่ใหญ่ที่สุด มีประชากรมากที่สุด เป็นที่ตั้งของสานักงานเลขาธิการอาเซียน มีองค์กรภาคประชาสังคมมากมายกว่า 800 องค์กร ที่จะเป็นรากฐานสาคัญในการสร้างประชาคมอาเซียนในอนาคตที่เข้มแข็งและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้ สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย พิจารณาดาเนิน “โครงการแลกเปลี่ยนภาคประชาชนอาเซียน” ที่อินโดนีเซียเป็นประเทศแรก

    การเดินทางไปกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 11 – 16 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา ถือเป็นการเดินทางไปอินโดนีเซียครั้งแรกของฉัน ซึ่งฉันมีความคาดหวังจะได้เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างภาคประชาชน การสร้างเครือข่าย และการได้ซึมซับความเป็นอาเซียนตามคาพูดของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันที่กล่าวไว้ว่าอาเซียนมี “อัตลักษณ์เดียวในความหลากหลาย” (Identity based on diversity) การเดินทางครั้งนี้จึงไม่ใช่การไปในฐานะเจ้าหน้าที่สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย เท่านั้น แต่เป็นในฐานะคนไทยและคนอาเซียน ที่ในอีก 6 ปีข้างหน้าจะต้องเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนแห่งนี้

    คณะของเราประกอบไปด้วยตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ จานวนทั้งสิ้น 25 ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสื่อภาคประชาชน กลุ่มหลากหลายทางเพศ กลุ่มชุมชนเมือง กลุ่มแรงงาน กลุ่มผู้พิการ และเครือข่ายกะเหรี่ยง ฯลฯ ทาให้เรากลายเป็นคณะเดินทางที่มีความหลากหลาย แต่ทุกคนก็ให้ความเป็นกันเองและยินดีแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มของตน

    ว่าไปแล้ว หากจะเปรียบคณะของเรากับสังคมไทยที่เราต้องอาศัยอยู่ นับได้ว่าความหลากหลายของพวกเราเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง การมาจากพื้นฐานที่ต่างกัน หากไม่เข้าใจกัน การอยู่ร่วมกันคงเป็นเรื่องยาก การเดินทางไปอินโดนีเซียด้วยกันครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดี ที่จะทาให้เราได้รับฟังความคิดเห็น ซักถาม และเสริมสร้างความเข้าใจต่อกันกับเพื่อนพ้องกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ให้มากขึ้น หากเราทาให้สังคมไทยเราเกิดความปรองดองภายในได้แล้ว การจะทาให้อาเซียนรวมกันเป็นหนึ่งคงไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม

    นอกจากการแลกเปลี่ยนภายในคณะแล้ว ทุกคนยังให้ความสนใจที่จะพูดคุยกับตัวแทนขององค์กรภาคประชาสังคมของอินโดนีเซีย แม้จะมีอุปสรรคทางด้านภาษาเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ต่างฝ่ายต่างก็พยายามที่จะสื่อสารกันให้ได้มากที่สุด ฉันรู้สึกประทับใจท่าทางสนอกสนใจของตัวแทนภาค ประชาสังคมอินโดนีเซียที่มีต่อคาถามภาษาไทยที่คณะของเราถาม ทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้ แต่พวกเขาก็ตั้งใจฟังเป็นอย่างดีก่อนที่จะได้รับฟังคาแปลเป็นภาษาอังกฤษเสียอีก

    ในการเดินทางครั้งนี้ คณะของเรายังได้รับเกียรติให้เข้าพบท่าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ที่สานักงานเลขาธิการอาเซียนอีกด้วย ซึ่งท่านดร.สุรินทร์ฯ ได้กล่าวบรรยายให้คณะ ได้ทราบเกี่ยวกับความสาคัญของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และความสาคัญของภาค ประชาสังคมที่จะมีบทบาทในการสนับสนุนทั้งด้านการเมืองความมั่นคง และเศรษฐกิจของประชาคมในอนาคตนอกเหนือจากงานด้านสังคมและวัฒนธรรม ฉันรู้สึกเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ในอนาคตคนไทยจะต้องมี 2 อัตลักษณ์ คือ ความเป็นคนไทยและความเป็นคนอาเซียน และเราจะต้องศึกษากฎบัตรอาเซียนให้ดี เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรามีสิทธิอะไรบ้าง และอาเซียนในฐานะองค์กร จะให้อะไรกับเราชาวอาเซียนบ้าง แม้ว่า 42 ปีที่ผ่านมา การปลูกฝังความเป็นเจ้าของอาเซียนร่วมกันจะมีน้อยมาก แต่ฉันก็มั่นใจว่า ความเป็นอาเซียนจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเราเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีซึ่งกันและกันตั้งแต่วันนี้ เมื่อเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ประชาคมของเราจะมีอานาจต่อรองในเวทีโลกมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน

    นอกเหนือจากการเข้าพบหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ตลอด 5 วันในจาการ์ตา ฉันได้มีโอกาสสังเกตวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียผ่านร้านรวงสองข้างทาง ฉันรู้สึกว่า นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว อย่างน้อยก็ยังมีจาการ์ตาอีกที่หนึ่งที่ฉันจะสามารถเดินออกมาหาอาหารรับประทานได้ตลอดทั้งวัน เพราะมีทั้งร้านข้าวต้ม ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านขนมของว่าง หรือแม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อที่คนขายให้ความเป็นมิตรกับฉันมาก คงจะดีกว่านี้ถ้าฉันสามารถสื่อสารกับพวกเขาเป็นภาษาอินโดนีเซียได้ การต้องพบปะสื่อสารกับผู้คนในอินโดนีเซียทาให้ฉันตระหนักว่า ภาษาเพื่อนบ้านเป็นภาษาที่สาคัญสาหรับคนไทยที่จะเรียนรู้ หากเราสามารถสื่อสารได้หลายภาษา การติดต่อสื่อสารระหว่างกันก็จะสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมือนการที่ชาวต่างชาติที่พูดภาษาไทยได้เข้ามาทาธุรกิจในเมืองไทย

    ฉันยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมอนุสาวรีย์เอกราชอินโดนีเซีย (Monumen Nasional) ซึ่งสวนสาธารณะ ที่ล้อมรอบอนุสาวรีย์ ทาให้ฉันนึกถึงสนามหลวงบ้านเราเป็นอย่างมาก เพราะมีเด็ก ๆ มาเล่นว่าวกันเต็มไปหมด มีหลาย ๆ ครอบครัวมานั่งพักผ่อนกัน รวมถึงกลุ่มวัยรุ่นที่จับกลุ่มพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน คงไม่ผิดนักหากจะเปรียบว่ากรุงเทพฯ กับจาการ์ตา เป็นเมืองฝาแฝดกัน ความคล้ายคลึงกันของ เมืองหลวงทั้งสองแห่งนี้ ทาให้ฉันรู้สึกว่าไม่ได้อยู่ไกลจากบ้านเกิดของตัวเองเลย

    การไปอินโดนีเซียครั้งนี้ยังทาให้ฉันได้เห็นถึงสิ่งที่คนไทยและคนอินโดนีเซียมีเหมือนกัน นั่นคือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความมีน้าใจ ชอบที่จะช่วยเหลือผู้อื่น สังเกตได้จาก จูโน ผู้ประสานงานชาวอินโดนีเซียที่ช่วยอานวยความสะดวกให้กับคณะตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายอย่างเต็มใจ ตลอดจนชาวบ้านที่ช่วยบอกทางแก่คณะของเราเวลาที่หลงทาง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ฉันมองว่ามันเป็นอุปนิสัยพื้นฐานที่คนอาเซียนทุกประเทศมีร่วมกัน และนี่ก็เป็นหนึ่งใน “อัตลักษณ์เดียวในความหลากหลาย” ที่ฉันมองเห็นในภูมิภาคของเรา และเป็นสิ่งที่นานาประเทศจะนึกถึงเมื่อนึกถึงอาเซียน

    วันนี้ ฉันพูดได้เต็มปากว่า ฉันภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนอาเซียน และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาสังคมอาเซียน และจะร่วมสร้างประชาคมแห่งความฝันให้เป็นความจริงให้ได้

     ประวัติศาสตร์อินโดนีเซียสมัยโบราณ
    ในห้วงเวลาก่อนคริสตกาลประมาณ 3,000 - 5,000 ปี ได้มีชาวมาเลย์ ซึ่งเป็นเชื้อสายมองโกลอยด์จากจีนตอนใต้ ยูนาน และตังเกี๋ย อพยพเข้าไปในอินโดนิเซีย ชนพวกนี้ได้นำเอาวัฒนธรรมของยุคหินใหม่ ยุคบรอนซ์ รวมทั้งภาษาออสโตรนีเซีย เข้ามาในอินโดนิเซีย รวมตลอดถึงในฟิลิปปินส์ด้วย พวกเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่อาศัย และแต่งงานกับชาวพื้นเมือง สอนให้ชาวพื้นเมืองรู้จักวิธีปลูกข้าว สร้างที่พักอาศัย และรู้ถึงวิธีการปั้นหม้อ และทอผ้า รวมทั้งการหาเลี้ยงชีพ และการผจญภัยในทะเล พวกเหล่านี้มีความสามารถในการเดินเรือ และสามารถแล่นเรือออกไปไกลถึงหมู่เกาะมาดากัสการ์ ทางทิศตะวันตก และเกาะอิเจียน โปลีนีเซียน ตลอดจนหมู่เกาะต่าง ๆ ทางทิศตะวันออก ต่อมาในระยะเวลาประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตศักราชจนถึงต้นคริสตศักราช ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้า จากบริเวณจีนตอนใต้และหมู่เกาะอินโดนิเซีย

    ในคริสตศตวรรษแรกได้มีชาวฮินดูจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ อพยพเข้ามในอินโดนิเซีย และได้นำภาษาสันสกฤต และภาษาปัลวะ เข้ามาเผยแพร่ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นภาษาชวาเก่า ชวาใหม่ และอักษรอินโดนิเซียอื่น ๆ การหลั่งไหลเข้ามาในอินโดนิเซียของชาวฮินดู ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสตศตวรรษที่ 7 ทำให้อิทธิพล และความเชื่อถือในลัทธิต่างๆ ได้ขยายวงกว้างออกไปโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งในที่สุดได้ผสมผสานกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไป วัฒนธรรมส่วนใหญ่ที่ชาวอินโดนิเซียได้รับจากชาวฮินดู ได้แก่ สถาปัตยกรรมการปั้นรูป วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ และการเล่นพื้นเมือง ซึ่งยังคงมีอยู่ในบาหลี และลอมบอร์กตะวันตก

    ระหว่างปี พ.ศ.643 - 743 พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท จากอินเดียได้เริ่มเผยแผ่เข้ามาในอินโดนิเซีย ในระยะแรก ๆ ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนมาถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย พุทธศาสนาจึงได้รุ่งเรืองมากขึ้น ในปี พศ.1215 โดยมีศูนย์กลางที่เมืองปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา และชวาตอนกลาง และเริ่มเสื่อมลงเมื่อสิ้นสุดอิทธิพลของ อาณาจักรศรีวิชัย นับแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 13

    ในปี พ.ศ.1389 ชาวอาหรับได้เดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา เป็นครั้งแรกเป็นพวกพ่อค้า ต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.1493 พวกพ่อค้าเหล่านี้ ได้นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ด้วย โดยที่ในระยะแรกได้ตั้งศูนย์กลางเผยแพร่ศาสนาขึ้นทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นจึงขยายออกไปทั่วประเทศ

    สมัยอาณาจักรมอสเลม

    เมื่ออาณาจักรฮินดูเริ่มตกต่ำลงระหว่างปี พ.ศ.2050 - 2063 อาณาจักรมอสเลมก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นในชวาตอนกลาง สุมาตรา สุลาเวสี กาลิมันตัน จนถึงอิเรียนตะวันตก และมีผลให้ภาษามาเลย์ซึ่งชาวมุสลิมบริเวณนี้ใช้อยู่ได้แพร่ขยายออกไปและกลายเป็นภาษาประจำชาติของอินโดนีเซียด้วย

    ในระยะนั้น เมืองจาการ์ตายังเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ บนเกาะชวา มีชื่อว่า ซุนดาเคลาปา ต่อมาเมืองนี้ได้ถูกนายพลฟามาเตอีนแห่งอาณาจักรเดมัดยึดได้ จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็นจาการ์ตา ซึ่งมีความหมายถึงสถานที่แห่งชัยชนะ เพราะเป็นชัยชนะต่อชาวโปรตุเกส ต่อมาในปี พ.ศ.2164 ฮอลแลนด์ได้เข้ามายึดครองอินโดนีเซีย และได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็นปัตตาเวีย

    สมัยตกเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ ฮอลแลนด์ได้ตั้งบริษัท United Dutch East India Company เมื่อปี พ.ศ.2145 เพื่อทำการค้า อยู่ที่หมู่เกาะอินเดียตะวันออก ซึ่งนอกจากทำการค้าแล้ว ยังทำหน้าที่แสวงหาอาณานิคมให้แก่ฮอลแลนด์ด้วย ในที่สุดได้ทำการยึดครองอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2164 และได้ขยายการปกครองออกไปทั่วประเทศ ทำให้อินโดนีเซียตกอยู่ในฐานะอาณานิคมของฮอลแลนด์

    การทำสงครามต่อต้านฮอลแลนด์ได้เริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2209 โดยสุลต่านฮานุดดินแห่งโกลา แต่ประสบความล้มเหลว และต้องเซ็นสัญญายอมแพ้ในปี พ.ศ.2310 ในปี พ.ศ.2233 - 2367 บริษัทได้ส่งทหารเข้าควบคุมหมู่เกาะโมลุกกัส (มาลูกู) เพื่อเข้าควบคุมการค้าเครื่องเทศ

    ในระยะเวลาเดียวกันได้ปรากฏมีชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเบวกูเลน บนฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา และได้มีการสร้างป้อมค่ายขึ้น ในระยะนี้ชาวอังกฤษยังไม่มีบทบาทมากนัก

    ในปี พ.ศ.2283 ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจาการ์ตาได้ทำการต่อต้านชาวดัตช์ เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และในด้านอื่น ๆ ชาวอินโดนีเซียได้เข้าร่วมในการต่อต้านครั้งนี้ด้วย แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ เป็นผลให้ชาวจีนถูกชาวดัทช์สังหารมากกว่า 10,000 คน

    การเข้าปกครองอังกฤษ ในระหว่างรัชสมัยของนโปเลียน ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองฮอลแลนด์ บริษัท British East Company จึงได้เข้าปกครองอินโดนีเซียแทน (พ.ศ.2358 - 2359) เมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจลงในปี พ.ศ.2358 อินโดนีเซียก็กลับไปเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์อีก

    การปราบปรามของฉอลแลนด์ นับตั้งแต่อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลแลนด์ ชาวอินโดนีเซียได้ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของฮอลแลนด์หลายครั้ง แต่ไม่สามารถเอาชนะได้

    การเคลื่อนไหวเพื่อกอบกู้เอกราช ได้มีการจัดตั้งสมาคม Budi Utom (ความบากบั่นอันสูงส่ง) ขึ้นในปี พ.ศ.2451 ได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นหลายพรรค เพื่อเป็นข้อต่อรองในการเรียกร้องเอกราชจากฮอลแลนด์

    ปี พ.ศ.2467 กลุ่มนักศึกษา ได้ตั้งสมาคมนักศึกษาอินโดนีเซีย โดยมี ดร.โมฮัมหมัดอัตตา เป็นหัวหน้า ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ดร.โมฮัมหมัดอัตตา ได้จัดตั้งองค์การสหพันธ์ โดยยรวมพรรคการเมืองของอินโดนีเซียทั้งหมดเข้าด้วยกัน

    ในปีเดียวกัน ดร.ซูการ์โน และบุคคลชั้นนำอีกหลายคนได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคชาตินิยมอินโดนีเซียขึ้น และใช้ภาษาบาฮาซา อินโนีเซียเป็นภาษากลางในการติดต่อ ประสานงานสนับสนุนนโยบายที่จะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของฮอลแลนด์ การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในกลุ่มเยาวชน และทำให้เกิดองค์การยุวชนขึ้นในท้องถิ่นต่าง ๆ

    สมัยการยึดครองของญี่ปุ่น ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดนีเซียได้ระหว่างปี พ.ศ.2485 - 2487 กองทัพญี่ปุ่นพยายามเอาใจชาวอินโดนีเซียด้วยการปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองที่ถูกทางการฮอนแลนด์คุมขังไว้

    การประกาศอิสระภาพ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามใน ปี พ.ศ.2488 ญี่ปุ่นได้เปิดโอกาสให้ชาวอินโดนีเซียในการนำของ ดร.ซูการณ์โน และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา ประกาศอิสระภาพของอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2488 พร้อมกับประกาศหลักการแห่งรัฐห้าประการ (ปัญจศีล) คือ





    • เชื่อมั่นในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
    • มวลมนุษย์แห่งอารยะ
    • ชาตินิยม
    • ประชาธิปไตย
    • ความยุติธรรมของสังคม

    อินโดนีเซียได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2488 และได้เลือกตั้ง ดร.ซูการ์โน เป็นประธานาธิบดี และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา เป็นรองประธานาธิบดี

    หลังจากที่ได้ประกาศอิสระภาพได้ไม่นาน ฮอนแลนด์ก็ได้พยายามกลับเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงบนเกาะสุมาตรา เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2488 อินโดนีเซียจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันวีรบุรุษแห่งชาติ และมีการฉลองเป็นประจำทุกปี

    จากเหตุการนองเลือดดังกล่าว ทำให้อินโดนีเซียประกาศใช้นโยบายสันติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศ และแสวงหาการสนับสนุนจากอังกฤษ ได้ตกลงเซ็นสัญญา เมื่อปี พ.ศ.2490 โดยฮอนแลนด์ยอมรับรองอธิปไตยของอินโดนีเซียเหนือเกาะชวา มาดุรา และสุมาตรา แต่ฮอนแลนด์ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา ได้ให้ทหารเข้ายึดครองอินโดนีเซีย และจับกุมประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีไปควบคุมตัวไว้

    ในปี พ.ศ.2492 ประเทศในเอเซียรวม 19 ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่กรุงนิวเดลฮี เพื่อเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บังคับให้ฮอลแลนด์ ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ของอินโดนีเซียทั้งหมด และมอบอธิปไตยให้อินโดนีเซีย ภายในปี พ.ศ.2493 สหประชาชาติได้ตกลงให้มีการหยุดยิงในอินโดนีเซีย และให้ฮอลแลนด์ปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองทั้งหมด กับจัดให้มีการประชุมขึ้นที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2492 จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้อินโดนีเซีย ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อ 27 ธันวาคม 2492 ยกเว้นเกาะอิเรียนตะวันตก ยังคงอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์

    สภาพทางสังคม

    ชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะความเป็นอยู่ของประชากรมีความแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน หลังจากอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราช เมื่อปี พ.ศ.2488 ก็ได้เริ่มพัฒนาประเทศในหลายด้าน โดยตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นหลายแห่ง มีหน่วยงานที่สำคัญคือ กระทรวงกิจการของสังคม

    นอกจากหน่วยงานของรัฐแล้วยังมีองค์การ และสมาคมต่าง ๆ ที่พยายามเข้าช่วยเหลือแก้ปัญหาของสังคมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยยึดหลักขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ระบบโกตองโรยองได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    อาชีพ
    อาชีพหลักของประชาชนอินโดนีเซียได้แก่
    • การเพาะปลูก ผลิตผลที่สำคัญทำรายได้ให้กับประเทศได้แก่ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด มันเทศ ยาง มะพร้าวและน้ำตาล
    • การทำป่าไม้ อินโดนีเซียมีพื้นที่ป่าประมาณ 114 ล้านเฮกตาร์ และนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตไม้แปรรูป จึงเป็นอาชีพสำคัญอาชีพหนึ่งของประชาชน
    • การประมง แม้อินโดนีเซียจะเป็นเกาะ แต่อาชีพทางการประมงยังไม่ค่อยเจริญ ประชาชนที่มีอาชีพประมงก็เป็นประชาชนที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล การใช้เครื่องมือทางประมง ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เป็นการประมงขนาดย่อม
    • การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงกันเกือบทุกชนิด แต่ที่นิยมกันมาก และมีปริมาณการผลิตสูงได้แก่วัวเนื้อ วัวนม ควาย แพะและแกะ
    • การทำเหมืองแร่ เป็นอาชีพสำคัญของประชากร เพราะประเทศอินโดนีเซียอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ
    • การอุตสาหกรรม อินโดนีเซียมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานผลิตเครื่องมือทางการเกษตร โรงงานยาสูบ โรงงานอุตสาหกรรมไม้แปรรูป โรงงานเครื่องหนัง โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานสร้างรถยนต์ และโรงงานสร้างเครื่องบิน

    การอพยพย้ายถิ่นฐาน

    เพื่อคลี่คลายความหนาแน่นของประชากรในบางแห่ง และเพื่อกระจายให้เกิดความสมดุลของประชากร รัฐบาลจึงได้มีการอพยพ ย้ายถิ่นฐานเช่น ย้ายผู้ที่ชอบทำการกสิกรรมให้ไปอยู่ในภูมิภาคที่มีคนอยู่น้อย รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในการย้ายถิ่นฐาน โดยจัดหาที่ดิน บ้าน รวมทั้งโรงเรียนระดับประถม และมัธยม การสาธารณสุขและสิ่งจำเป็นขั้นมูลฐานเช่น ถนน สหกรณ์ ศาลาประชาชน ศาสนสถาน และอุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น

    โดยที่เกาะชวาซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวง มีประชากรหนาแน่น และส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูง มีฐานะดี เป็นคนมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดมาก เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้เข้ามารุ่งเรืองอยู่จนเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาอยู่ก่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.143 - 743 นอกจากนี้เกาะชวายังเป็นศูนย์ทางวัฒนธรรม และโดยความเชื่อในปัจจุบัน ประมุขของรัฐหรือประธานาธิบดีต้องเป็นคนชวา รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะพยายามอพยพคนชวาไปอยู่ในติมอร์ตะวันออก (ก่อนแยกตัวเป็นอิสระ) สุมาตราเหนือ (เฉพาะที่อาเสรี) สุลาเวสีและกาลิมันตัน

    จิตสำนึกของชนกลุ่มต่าง ๆ ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ เนื่องจากอินโดนีเซียประกอบด้วย ชนหลายเผ่าพันธ์ และกระจัดกระจายอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ทั่วประเทศ ชนเหล่านี้มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ทำให้รัฐบาลต้องหาทางที่จะให้ชนเหล่านี้ มีจิตสำนึกในการเป็นคน เชื่อชาติเดียวกัน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้ใช้ภาษาเดียวกันเป็นภาษากลางประจำชาติ (ภาษาฮาซา อินโดนีเซีย) สร้างคำขวัญโน้มน้าวจิตใจขึ้นเช่น ประเทศเดียว ชาติเดียว ภาษาเดียว ปลูกฝังหลักปัญจศีล ขนบธรรมเนียมโกตองเรยอง และบินเนกาตุงกาลอิกะ (สามัคคีในชนต่างเผ่า) ให้ประชาชนยึดมั่น

    โดยทั่วไปแล้วชาวอินโดนีเซีย จะมีความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอันดี เพราะได้ต่อสู่เพื่อความเป็นเอกราชมาด้วยกัน และรู้ถึงความลำบากยากแค้น ในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตกมาเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวอินโดนีเซียมีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาตลอด

    ในอดีตที่ชาวอินโดนีเซียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของคนต่างชาติมาเป็นเวลาช้านาน ทำให้ชาวอินโดนีเซียรังเกียจชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยุโรป ด้วยเหตุนี้อินโดนีเซียจึงพยายามดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระ ไม่ผูกพันกับประเทศใด พยายามสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพ เพื่อครองความเป็นใหญ่ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

    ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มต่าง ๆ อินโดนีเซียมีชาวจีนโพ้นทะเลอยู่มากกว่า 3.5 ล้านคน เป็นคนจีนที่ถือหนังสือเดินทางของประเทศจีนเกือบ 1 ล้านคน ที่เหลือเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติอินโดนีเซียแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่เป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจที่สำคัญภายในประเทศ และบางกลุ่มยังให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดิน ในอินโดนีเซียด้วย ทำให้ชาวอินโดนีเซีย มีความรู้สึกรังเกียจชาวจีนตลอดมา และมักจะมีการปะทะกันระหว่างชนสองเชื้อชาตินี้อยู่เสมอ ระหว่างการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.2510 มีชาวจีนถูกสังหารไปเป็นจำนวนมาก รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ใช้มาตรการกำหนดเขตที่อยู่ และการเนรเทศชาวจีนที่มีพฤติการณ์ บ่อนทำลายอินโดนีเซีย ออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่สามารถลดอิทธิพลของชาวจีนลงได้ ต่อมารัฐบาลอินโดนีเซียได้ผ่อนปรนให้ชาวจีนที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย โอนสัญชาติเป็นชาวอินโดนีเซียได้

    ศาสนา

    ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะมีศาสนาหลายศาสนาด้วยกัน แต่เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งในทางศาสนาก็จะเกิดในชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น ประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียได้แสดงถึงการสมยอมกันในระหว่างศาสนาต่าง ๆ มาตลอดเวลากว่าพันปี ทุกอย่างได้ดำเนินไปอย่างสงบสุข ความใจกว้างในเรื่องศาสนา เป็นวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียมาเป็นเวลาช้านานแล้ว

    รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย ให้สิทธิแก่ทุกคนที่จะนับถือศาสนาของตน ทุกคนมีเสรีภาพในทางศาสนา มีสิทธิที่จะเผยแพร่ศาสนาของตน เมื่อการกระทำนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และความสงบของสังคมและชาติบ้านเมือง
    • ศาสนาสำคัญในอินโดนิเซีย มีอยู่ห้าศาสนาหลัก ๆ ด้วยกันคือ
    • ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 90
    • ศาสนาคริสต มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 เป็นผู้นับถือนิกายโปแตสแตนท์ มากกว่านิกายโรมันคาธอลิคสองเท่า ผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาธอลิค ส่วนใหญ่เป็นคนชวาภาคกลาง ชาวเกาะสุลาเวสี นุสาเตงการา และมาลูกู
    • ศาสนาพุทธ มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 1
    • ศาสนาฮินดู มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะบาหลี
    • ศาสนาขงจื้อ มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน

    การสอนศาสนา
    อินโดนิเซียมีมหาวิทยาลัยชั้นสูงหลายแห่ง ซึ่งมีทั้งมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค และมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาอิสลาม

    แม้ว่าอินโดนิเซีย จะมีประชากรที่นับถือศาสนาต่างกันมาก แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางศาสนาที่รุนแรง แต่ก็ปรากฎว่ามีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่ม ที่พยายามใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงาน เช่น ขบวนการคอมมานโดจีฮัด และขบวนการอาเจห์เสรี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งรัฐบาลอิสลามขึ้น แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และถูกปราบปรามอย่างรุนแรงจากรัฐบาล

    ในอินโดนีเซีย ผู้แทนคริสตศาสนานิกายโรมันคาาธอลิค และนิกายโปรเตสแตนท์ ได้ดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งนอกจากดำเนินงานทางงศาสนาแล้ว ยังได้ทำงานในด้านสังคมและการศึกษา ได้สร้างสถาบันต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงเรียนและอื่น ๆ

    พลเมืองส่วนใหญ่ในเขตสุมาตราเหนือ (ตามูนูลี) ในซิลีบีสเหนือ (มินาฮาซา) ในนุสาเหงการา ในโบลูกัสและอิเรียนชยา ชาวเมืองได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ในอินโดนีเซียมีชาวคาธอลิคประมาณ 1 ล้านคน และชาวโปรเตสแตนท์ประมาณ 2 ล้านคน

    สมาคมมุสลิมก็ได้ดำเนินงานอย่างเข็มแข็งเหมือนกัน งานดังกล่าวไม่เกี่ยวแต่เฉพาะศาสนาเท่านั้นแต่รวมถึงงานทุกด้านทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของประชาชน

    เกาะบาหลี เป็นเกาะที่มีพลเมืองนับถือศาสนาฮินดู จะพบวัดเป็นจำนวนมาก ในชนบททุกแห่งจะมีวัดอย่างวน้อยสามวัด ซึ่งประชาชน จะพากันนำเครื่องสักการะไปบูชา เทพเจ้าเป็นประจำ ชาวบาหลีใช้ชีวิตอย่างชาวฮินดูมาช้านาน ปัจจุบันก็ยังมีมีสภาพอย่างเดิม ศาสนาพราหมณ์ฮินดูยังคงมีชีวิตอยู่ในบาหลี

    ศาสนาที่เป็นที่นิยมของประชาชน ชาวอินโดนีเซียประมาณ ร้อยละ 88 นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาอิสลาม มากที่สุดในโลก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันนดับต้น ๆ ของโลก

    อิทธิพลของศาสนาต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงมีแนวทางในการดำเนินชีวิต ตามแบบฉบับของศาสนาอิสลาม ดังนี้

    การครองเรือน อุดมการณ์ของศาสนาอิสลามถือว่าผู้ชายเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้เลือกถิ่นที่อยู่ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์สุขของครอบครัว และเป็นผู้สืบสกุล ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงห้ามขาดไม่ให้หญิงมุสลิมเป็นภรรยาของผู้ที่มีความเชื่อถือต่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าได้ลาออก หรือถูกไล่ออกจากสังคมอิสลามแล้ว สมาชิกของสังคมอิสลาม มีสิทธิที่จะทำการประชาทัณฑ์ด้วยการเลิกคบหาสมาคมด้วย แต่ถ้าฝ่ายชายได้เปลี่ยนอุดมการณ์ ความเชื่อถือเดิมมาเป็นอย่างเดียว กับฝ่ายหญิงแล้วด้วยความสมัครใจก่อนการสมรสกัน หญิงมุสลิมก็ทำการสมสรสด้วยได้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีความยึดมั่นในข้อห้ามอย่างแน่วแน่ จนต้องนำเอาหลักจารีตประเพณี มาบังคับเป็นกฎหมาย เพื่อกำหนดสถานภาพของครอบครัว อันเป็นการจำกัดสิทธิของสตรี จนมีการดิ้นรนเรียกร้องสิทธิเพิ่มขึ้น ทางสภาผู้แทนราษฎร

    การกำหนดสถานภาพทางครอบครัวของอินโดนีเซีย ตามกฎหมาย จารีตประเพณี มีดังนี้

    • ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายตั้งแต่บรรพบุรุษ สตรีถ้าสมรสแล้วต้องออกจากตระกูลของตนเองมาเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี บุตรที่เกิดเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี
    • มารดาเป็นหัวหน้าครอบครัวสืบเชื้อสายทางฝ่ายหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน บุตรที่เกิดจากสมาชิกในครอบครัวของมารดา
    • บิดามารดา เป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายและหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน ส่วนบุตรที่เกิดคงเป็นสมาชิกในครอบครัวฝ่ายบิดาและมารดา

    ตามปกติในชุมชนบางแห่ง การลำดับญาตินี้ทำให้ทางฝ่ายชายมีอำนาจเหนือฝ่ายหญิง หรือหญิงมีฐานะด้อยกว่าชาย ทางฝ่ายหญิงแม้จะมีหลักฐานเหนือกว่า ก็ไม่มีอำนาจเหนือกว่าชายทุกอย่าง ส่วนทางบิดา และมารดานั้น ฐานะของหญิงเท่าเทียมชายในกฎหมายจารีตประเพณี

    การสมรสของชาวอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ถือปฏิบัติตามประเพณี และบทบัญญัติของกฎหมายโมฮัมหมัด การหย่าร้างตามกฎหมายโมฮัมหมัด ให้สิทธิสามีเป็นผู้บอกเลิก แม้การบอกเลิกจะได้กระทำไปโดยไม่มีเหตุผล

    การอุปโภคและบริโภคอิสลามแนะนำให้อยู่ดีกินดี บริโภคอาหารที่มีคุณแก่ร่างกาย และสะอาดกับจิตใจ และอุปโภคเครื่องนุ่งห่มที่ประกอบจากวัสดุที่สะอาด และรักษาให้สะอาด เตรียมพร้อมที่จะนมัสการต่อพระเจ้าอยู่เสมอ

    ตามคัมภีร์กุรอาน อิสลาม ได้เว้นการบริโภคซากสัตว์ สัตว์ที่ตายเอง เนื้อสุกร และสัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือด หรือถูกประหารโดยการขออนุญาตจากผู้ที่มิใช่อัลลอห์ นอกจากนี้ยังมีสัตวซ์พาวหนะและสัตว์เลี้ยงเช่น ลา แมว สุนัข สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ประเภทนกที่ใช้เท้าเป็นสื่อส่งอาหารใส่ปากเช่น แร้ง เหยี่ยว กา และสัตวว์ที่บริโภคเนื้อสัตว์ด้วยยกันเช่น เสือ สิงโต

    การที่ห้ามบริโภคเนื้อสัตวว์ที่ถูกฆ่า โดยผู้ที่ไม่ใช่เป็นอิสลามนั้นเนื่องมาจากสิทธิของพระเจ้า เพราะอิสลามถือว่าพระเจ้าเป็นเจ้าชีวิต แม้สัตว์ที่ยอมให้เป็นอาหารของมนุษย์แล้วก็ตาม แต่มนุษย์จะบริโภคได้ก็แต่เลือดเนื้อของสัตว์เท่านั้น ส่วนชีวิตเป็นของพระเจ้า เมื่อจะเชือด หรือประหารชีวิต เพื่อนำมาเป็นอาหารจะต้องขอนุญาตจากพระเจ้าเสียก่อน นอกจากปลาและสัตวว์น้ำ ซึ่งโดยกฎของบสวภาวะของพระเจ้า เมื่อขึ้นมาอยู่บนบกมันจะตายเองด้วยดินฟ้าอกาศ ซึ่งเป็นเครื่องมือของพระเจ้า

    พิธีศพอุดมการณ์ของอิสลามถือว่า การให้เกียรติแก่ศพ ไม่ว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ จะถือศาสนาอะไร เป็นมารยาทอันสูงส่งที่มุสลิมทุกคนบจะถือปฏิบัติตาม การทำลายศพเป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาด โดยที่อุดมการณ์ของอิสลามถือว่ามนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายถูกสร้างโดยพระเจ้า ร่างกายของมนุษย์จึงยตกเป็นสิทธิของพระเจ้า เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ต้องส่งยคืนไปในสวภาพเดิมและไปสู่ที่เดิม

    การถือศีลอด
    การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนปีละหนึ่งเดือนคือ การอดอาหาร และเครื่องดื่ม ตลอดจนการบริโภคใด ๆ ทั้งสิ้น ระหว่างเวลาก่อนรุ่งอรุณ จนตะวันตกดิน เพื่ออบรมให้มีความอดทนต่อความหิวกระหาย เพื่อใให้รู้ซึ้งถึงอาการของความหิวกระหายว่าเป็นประการใด เพื่อมนุษย์ที่เกิดความหิวกระหาย เพราะอัตคัดขัดสน ควรจะได้รับการช่วยเหลืออย่างไรและเพียงใด

    การบำเพ็ญฮัจยีการไปร่วมกันประกอบพิธีฮัจยีในเมืองเมกกะห์หนึ่งครั้งในชีวิตนั้น ถือปฏิบัติสำหรับผู้มีกำลังทรัพย์และกำลังกายเท่านั้น เพื่อประโยชนน์ในการอบรมจิตใจ ให้นิยมความเสมอภาค เพราะในพิธีนี้ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือคนธรรมดาสามัญที่รวมอยู่ในพิธีจะต้องแต่งกาย และกระทำพิธีอย่างเดียวกันหมด

    ปูชนียสถานปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาได้แก่ โบโร บูเดอร์ (borobudur) อยู่ในยอร์คจาการ์ตา สร้างเมื่อปี พ.ศ.800 ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ในเกาะบาหลี และมัสยิดอัล อาซาร์ของศานาอิสลาม ที่สร้างขึ้นภายหลังศาสนสวถานของพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ฮินดู

    ความเชื่อของคนอินโดนีเซีย คนอินโดนีเซียเชื่อเรื่องวิญญาณ พระเจ้า บรรพบุรุษ ภูติผีปีศาจ ดวงดาว ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพบมากในเกาะบาหลีและเกาะต่าง ๆ ที่ควารมเจริญสมัยใหม่ยังเข้าไปไม่ถึง


    ขนบธรรมเนียมประเพณี


    โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ประชากรอินโดนีเซียประกอบด้วย หลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ แต่ละเผ่าพันธุ์ต่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรม และลักษณะทางสังคมของตนสืบทอดกันมา ชนเหล่านี้เมื่อถูกรวมกันเข้าภายใต้ระบบการเมือง เศรษฐกิจและการป้องกันประเทศร่วมกัน

    จากการที่สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมาย และมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากรติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง จึงปรากฎลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาที่ใช้ผิดแผก แตกต่างกันไป

    ขนบธรรมเนียมประเพณี ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแตกต่างกันไป ในแต่ละกลุ่มชน ชาวชนบทที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ยังยึดมั่นอยู่กับประเพณีเดิมอยู่มาก ส่วนกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก จะมีวิถีชีวิตแตกต่างกันออกไป การแบ่งกลุ่มชนตามขนบธรรมเนียมประเพณี และพื้นที่ตั้ง สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ




    • กลุ่มแรก เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา และบาหลี ผู้คนที่อยู่ในแถบนี้จะยึดมั่นอยู่ในแนวทางของศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมเน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจ และสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปอย่างมากมาย โดยเฉพาะนาฎศิลป์ และดุริยางคศิลป์ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประชากรจะประพฤติตามหลักจริยธรรม มีการเคารพต่อบุคคลตามฐานะของบุคคลนั้น ๆ
    • กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะต่าง ๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทางวัฒนธรรมตามหลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจของสังคมอินโดนีเซียยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทางศาสนา และกฎหมาย
    • กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมาก อาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และการเพาะปลูก รัฐบาลอินโดนีเซียได้เข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนกลุ่มนี้แล้ว

    ในประเทศอินโดนีเซีย มีการกำหนดกฎหมายประเพณีในสังคม ตามความเชื่อในศาสนาซึ่งจะต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด และสืบทอดกันมานานแล้ว มีสาระที่สำคัญคือ ความผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเมืองต่อสังคมที่ตนอยู่ โดยยึดหลักการปฎิบัติที่เรียกเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า โกตองโรยอง คือการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานต่าง ๆ เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินร่วมกัน ภายใต้ข้อตกลงและข้อแม้พิเศษ

    การแต่งกาย

    เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายจึงโน้มน้าวไปตามประเพณีของศาสนา

    • ผู้ชาย จะนุ่งโสร่ง สวมเสื้อคอปิด แขนยาว สวมหมวกรูปกลม หรือหมวกหนีบ ทำด้วยสักหลาดสีดำ บางครั้งจะนุ่งโสร่งทับกางเกง ประมาณครึ่งตัว โดยปล่อยให้เห็นขากางเกง ในกรณีที่ต้องเข้าพิธี อาจจะมีการเหน็บกริชด้วย ปัจจุบันผู้ชายอินโดนีเซียส่วนใหญ่นิยม แต่งกายแบบสากล แต่ยังคงสวมหมวกแบบเดิม
    • ผู้หญิง จะใช้ผ้าไคน์ พันรอบตัว และใช้นุ่งอยู่กับบ้านเท่านั้น ผ้าไคน์จะมีลวดลายสวยงามมาก เนื้อดีและราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า ผ้าปาติค (Patik) เวลานุ่งจะต้องให้ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ เรียกว่า เคบาจา (Kebaja) เป็นเสื้อที่รัดติดกับตัว แขนยาว สำหรับผู้หญิงชาวเกาะสุมาตรา นิยมสวมเสื้อหลวม ลำตัวยาวเกือบถึงเข่า เรียกว่า บัตยูกรุง และใช้ผ้าห่มพาดไหล่ข้างหนึ่งด้วย ผู้หญิงอินโดนีเซียไว้ผมยาว แล้วเกล้าเป็นมวย และใช้เครื่องประดับ เช่น พลอย หรือดอกไม้ประดับศีรษะ รองเท้าที่ใช้เดิมเป็นรองเท้าแตะ แต่ปัจจุบันเป็นรองเท้ามีส้น และทาสี แกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ สายคาดทำด้วยหนังทาสีเงิน หรือสีทอง สตรีที่นับถือศาสนาอิสลามจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ แต่ไม่ปิดหน้า ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น การแต่งกายแบบดังกล่าว จะใช้ในโอกาสพิธีสำคัญ ๆ เท่านั้น

    ศิลปและวรรณคดี

    ชาวอินเดียเป็นผู้รักศิลป และวรรณคดีมาช้านานแล้ว สังเกตได้จากลวดลายของเครื่องแต่งกาย บ้านที่พักอาศัย ศาสนสถาน และนาฎศิลป์ต่าง ๆ ศิลปในประเทศอินโดนีเซีย มิได้ยึดถือตามที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตเท่านั้น แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างได้พัฒนาเปลี่ยนไปตามแต่ละยุค แต่ละสมัย ที่มีอิทธิพลต่อประเทศอินโดนีเซีย ในขณะนั้น

    ศิลปกรรมการปั้น และการแกะสลัก การทำงานแบบธรรมชาติ โดยใช้ฝีมืออย่างแท้จริง ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบแกะสลักไม้ แกะสลักวัตถุโลหะ เครื่องปั้นดินเผา และงานแกะสลักหินเป็นรูปต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมฮินดู เพราะศาสนาพราหมณ์ฮินดู เคยเข้ามามีอิทธิพลในอินโดนีเซีย นักแกะสลักที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่เป็นชาวบาหลี

    สถาปัตยกรรม

    มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศและอิทธิพลของศาสนา แต่ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับประเทศต่าง ๆ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาคารบ้านเรือนของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ส่วนเทวสถานบางแห่ง เช่น สถูปโบโรพุทโธ ซึ่งมีชื่อเสียงมากได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของศาสนาฮินดู

    นาฏศิลป์

    มีรูปแบบแตกต่างกันไปเป็นสองลักษณะ เนื่องจากในอดีตอินโดนีเซียถูกฮอลันดาบีบบังคับให้แบ่งอาณาจักร Matanam ออกเป็นสองส่วนคืออาณาจักรสมาการ์ตา (Sumakarta) และอาณาจักรยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) จึงทำให้นาฏศิลป์ชวามีรูปแบบแตกต่างกันออกไปดังกล่าว

    • แบบสมาการ์ตา (Samakarta) การแต่งกายจะใช้ผ้าแพรพาดบ่า ท่วงทำนองของวงมโหรีจะนุ่มนวลราบเรียบ มีเส้นแบ่งจังหวะน้อย
    • แบบยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) การแต่งกายจะใช้ผ้าแพรพันเอว ท่วงทำนองของวงมโหรีจะมีเสียงไม่นุ่มนวล เพราะมีเส้นแบ่งจังหวะมาก

    ถึงแม้นาฏศิลป์ทั้งสองแบบจะแตกต่างกันไปบ้างก็ตาม แต่ก็สะท้อนปรัชญาของชวาจากท่าทาง การเคลื่อนไหวมือ - แขน แม้กระทั่งการแสดงออกทางสีหน้า เช่น ตัวละครที่แสดงเป็นธรรมะจะหลบตาลงต่ำเสมอ และจะร่ายรำด้วยลีลาอ่อนช้อย ผสมกลมกลืนอย่างสง่างาม แสดงถึงจิตใจอ่อนโยนบริสุทธิ์ ในทางตรงกันข้าม ตัวละครที่แสดงเป็นอธรรม หรือชั่วร้ายจะแสดง ลักษณะท่วงท่าวางอำนาจ กลอกตาแข็งกร้าว แสดงถึงจิตใจชั่วร้ายหยาบคาย ปรัชญาของชวามุ่งใฝ่สันติความสงบสุข สุภาพ ถ่อมตัวในการติดต่อกับผู้อื่น เช่นเดียวกับตัวละครที่แสดงเป็นฝ่ายธรรมะ

    ดนตรี

    ในสมัยโบราณ อินโดนีเซียมีวงดนตรีพื้นเมืองมีชื่อเสียงมากเรียกว่า ตมิลาน ประกอบด้วย เครื่องดนตรีคล้ายระนาด กลอง ฆ้อง ซอสองสาย และขลุ่ย ซึ่งนอกจากเป็นดนตรีประจำราชสำนักของสุลต่านต่าง ๆ บนเกาะชวาแล้ว ดนตรีดังกล่าวยังทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วย แต่ปัจจุบันวงดนตรีตมิลานได้กลายเป็นวงดนตรีสำหรับการฟ้อนรำ การแสดงนาฏศิลป์ และการแสดงหนังตะลุง นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีวงดนตรีอังกะลุงด้วย

    ศิลปะการแสดง

    การมหรสพของอินโดนีเซียได้แก่ ละครและภาพยนตร์ เค้าโครงเรื่องของละครที่นำมาแสดงส่วนใหญ่คือเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นเทพนิยายในศาสนาฮินดู ตัวละครจะแต่งกายด้วยผ้าปาติก ไม่สวมเสื้อชั้นนอก ใช้สีทาตัวเป็นสีต่าง ๆ ประดับด้วยสร้อยสังวาลย์ นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีการละเล่นอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า วายัง หรือหนังตะลุง เป็นที่นิยมกันมาก เค้าโครงเรื่องส่วนใหญ่เป็นนิยายเกี่ยวกับเรื่องสงครามในศาสนาฮินดู

    วรรณคดี

    ในสมัยที่ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาได้เข้าไปเผยแพร่ในอินโดนีเซีย วรรณคดีของอินโดนีเซียมีความเจริญอย่างรวดเร็ว หนังสือที่มีชื่อเสียงในระยะนั้นได้แก่เรื่องเนการาเกอร์ตากามา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ และอำนาจของอาณาจักรมัดยาปาหิต นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่ได้รับความนิยมกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องปาราราตัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกษัตริย์อินโดนีเซียในสมัยนั้น เขียนเป็นภาษาชวาโบราณ

    ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้แพร่เข้าไปในอินโดนีเซีย ก็ได้มีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลาม และตำราหมอดูไว้หลายเล่ม โดยเขียนเป็นภาษาชวา


    อักษรโบราณของอินโดนีเซีย




    นวพรรณ ภัทรมูล กลุ่มงานวิชาการ 24 กุมภาพันธ์ 2553
    ผู้เขียนได้เจอบทความเรื่อง “Bali Age People” เขียนโดย Terima ในเว็บไซต์ http://balitouring.com เห็นว่าน่าสนใจดี เพราะบทความนี้ได้กล่าวถึงพัฒนาการอักษรโบราณในประเทศอินโดนีเซียอย่างย่อๆ แต่ก็ทำ ให้เห็นภาพรวมทั้งหมด และเห็นพัฒนาการอักษรโบราณที่สอดคล้องกับพัฒนาการอักษรทั้งของไทยและประเทศ เพื่อนบ้านอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ผู้เขียนจึงถือโอกาสเก็บความจากบทความนี้มาเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายขึ้น เผื่อ ว่าจะมีประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่กำลังสนใจเรื่องจารึกและอักษรโบราณในภูมิภาคนี้ และรู้จักประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านของเราในอีกแง่มุมหนึ่ง

    สมัยประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียเริ่มต้นด้วยการค้นพบ “จารึกแห่งกาลิมันตันตะวันออก” ในเขตกูไต (Kutai) อายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งมีรูปแบบอักษรคล้ายอักษรอินเดีย และอาจเข้ามาพร้อมๆ กับที่ศาสนาฮินดู เข้ามาในอินโดนีเซีย

    ศาสตราจารย์ เจ. จี. เดอ คัสพาริส (Prof. J.G. de Casparis) หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวัฒนธรรม อินโดนีเซีย ได้สรุปพัฒนาการอักษรโบราณในอินโดนีเซียโดยแบ่งเป็นช่วงๆ ของรูปแบบอักษรและลำดับยุคสมัย ดังนี้

    อักษรปัลลวะ
    อักษรปัลลวะในอินโดนีเซียแบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่นแรก และรุ่นหลัง ตัวอย่างจารึกอักษรปัลลวะรุ่นแรกนี้ พบที่ยูปา (Yupa) ในเขตกุไต (Kutai) อักษรจารึกมีรูปร่างสวยงาม เส้นอักษรยาว ตรง และตั้งฉากทำมุมพอดี โดยรวมของอักษรจะค่อนข้างกลม และโค้งสวย ตัว ม (ma) จะเขียนเป็นตัวเล็กอยู่ในระดับต่ำกว่าอักษรตัวอื่นๆ และตัว ต (ta) มีรูปร่างเป็นขดคล้ายก้นหอย ซึ่งเป็นรูปแบบที่เก่า และใกล้เคียงมากกับอักษรที่ใช้ในอาณาจักร อิกษวากุ (Iksavakus) แห่งอันธะระ ประเทศ (Andhara Pradesh), อักษรที่สถูปเจดีย์นาคารชุนโกณฑะ (Nagarjunakonda), จารึกของพระเจ้าภัทรวรมัน (Badravarman) ใน โช ดินห์ (Cho Dinh) ที่มีอายุอยู่ในช่วง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 จารึกแห่งโช ดินห์ นี้มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับจารึกของรุวันวะลิสะยะ (Ruvanvalisaya) แห่งอเมระธะปุระ (Ameradhapura) ประเทศศรีลังกา (Srilangka) ที่สร้างโดยพระเจ้าพุทธะ สาสะ (Buddhasasa) ในปี ค.ศ. 337 – 365


                                          ภาพ จารึกพบที่ยูปา (จากเว็บไซต์ http://en.wikipedia.org)
     
    ส่วนอักษรปัลลวะรุ่นหลังนั้น มีการคลี่คลายค่อนข้างมาก เกิดระบบ “same height” หรือการเขียน อักษรให้มีความสูงเสมอกัน จากที่มีการศึกษาเรื่องพัฒนาการทางอักษรทั้งในอินเดียใต้ และเอเชียใต้ เชื่อว่า อักษรลักษณะนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 – 9 มีทั้งรูปแบบที่เป็นตัวอักษร และที่เป็นลายเส้น สวยงาม


    ภาพ จารึกลายเส้นจาก Tuk Mas ใกล้กับ Magelang (จากเว็บไซต์ http://bureketo.blogspot.com)

    อักษรกวิ
    ความแตกต่างระหว่างอักษรปัลลวะและกวิ คือ อักษรปัลลวะมักจะจารลงบนศิลา ส่วนอักษรกวิมักจะ จารลงบนใบปาล์ม คำว่า “กวิ” หมายถึง ผู้เขียน แต่ภายหลังใช้หมายถึงอักษรชวาโบราณ และภาษาชวาโบราณ ภาษาในจารึกส่วนใหญ่จะเป็นภาษาสันสกฤต

    อักษรกวิก็แบ่งเป็นสองรุ่นเช่นเดียวกัน คือ รุ่นแรก และรุ่นหลัง, รุ่นแรกจะอยู่ในช่วง ค.ศ. 750 – 925 อักษรกวิรุ่นแรกที่เก่าที่สุดพบที่ฐานประติมากรรมพระพิฆเณศ พบที่ปลุมปุงัน (Plumpungan) ใกล้กับสาลาติกะ (Salatika) ที่ดิโนโย (Dinoyo) ซึ่งมีอายุ ค.ศ. 760 สิ่งที่น่าสนใจคือ ตัวอักษรเป็นเส้นคู่ จารลงที่ฐานประติมากรรม มีจารึกยุคสมัยเดียวกันนี้หลายหลัก หลักหนึ่งพบที่ลิกอร์ (Ligor) ภาคใต้ของประเทศไทย (หมายถึงจารึกวัด เสมาเมือง นครศรีธรรมราช – ผู้เรียบเรียง) ซึ่งสร้างโดยกษัตริย์อาณาจักรศรีวิชัย ใน ค.ศ. 775 นอกจากนั้นยังมี จารึกอักษรกวิรุ่นแรกชนิดที่เรียกว่า “อักษรกวิแบบมีระเบียบ” เป็นรูปแบบอักษรที่พบในสมัยพระเจ้าราไก กะยู วังคิ (ค.ศ. 856 – 882) จารบนแผ่นทองสัมฤทธิ์และศิลา อักษรจารอย่างเป็นระเบียบ มีช่องไฟที่สมดุล และเส้น นอนของอักษรแต่ละตัวจะตรงเป็นแนวเดียวกันทุกตัวอักษร ปลายยุคแรกนี้ อักษรจะเริ่มหัก ตั้งตรง และทำมุม มากขึ้น พบในจารึกที่สร้างโดยพระเจ้าบาลิตุง (King Balitung, ค.ศ. 910), พระเจ้าทักษะ (King Daksa, ค.ศ. 919)

    ในช่วง ค.ศ. 925 – 1250 ปรากฏรูปแบบอักษรกวิรุ่นหลัง ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน คือ แบบแรกอยู่ ในสมัยพระเจ้าทักษะ (King Daksa, ค.ศ. 910 – 921), พระเจ้าตูโลดง (King Tulodong, ค.ศ. 919 – 921), พระ เจ้าวะวะ (King Wawa, ค.ศ. 921 – 929) และพระเจ้าซินดก (King Sindok, ค.ศ. 929 – 947) เส้นอักษรทั่วๆ ไปจะเป็นเส้นเดี่ยว และเป็นระเบียบ แบบที่สองพัฒนามาจากจารึกของพระเจ้าเอรลังคะ (King Erlangga, ค.ศ. 1019 – 1042) และจารึกในกัลกัตตา อายุหลัง ค.ศ. 1041 อักษรในจารึกมีความสมดุล สมส่วน และสวยงาม เรียกอักษรชนิดนี้ว่า อักษรรูปสี่เหลี่ยม อักษรชนิดนี้มีการใช้อย่างแพร่หลายในชวา จารึกบางหลักมีรูปแบบการ จารคล้ายกับจารึกที่รูปปั้นพระพิฆเณศ ที่กะรังเรโช (Karangrejo) ค.ศ. 1124 เขตโควะ คะชะ (Gowa Gajah) และจารึกพบที่หมู่บ้านงันตัง (Ngantang) อายุ ค.ศ. 1057 ซึ่งมีการกล่าวถึง อาณาจักรปันชะลุ (Panjalu) ว่าเป็น ศัตรู สร้างโดยพระเจ้าชยภยะ (King Jayabhaya) ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงมากในเรื่องของการทำนายอนาคตของ อินโดนีเซีย และทรงมีวิสัยทัศน์ที่พิสูจน์แล้วว่าถูกต้องแม่นยำ

    อักษรสมัยอาณาจักรมัชปาหิต (ค.ศ. 1250 – 1450)
    ช่วงนี้ อักษรมีหลากหลายรูปแบบ และดูราวกับมีการพัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะในแต่ละท้องที่ เช่น อักษรของพระเจ้าเกรตะระชะสะ (King Kretarajasa) อายุหลัง ค.ศ. 1292, อักษรจารึกพบที่จิเรบอน (Cirebon) และต้นฉบับตัวเขียนแห่งกุนชะระกะรนะ (Kunjakarna) หรือพุทธประวัติ อักษรจารึกเกือบทั้งหมดจารเป็นเส้น เดี่ยว รูปสี่เหลี่ยม, อักษรจารึกแห่งอาณาจักรปะชะชะรัน (Pajajaran, ปัจจุบันอยู่ชวาตะวันตก หรือ ซุนดา แลนด์) ใช้ ภาษาซุนดา อายุประมาณ ค.ศ. 1333, อักษรจารึกจากสุมาตราตะวันตก ใกล้กับบุกิต ติงคิ (Bukit Tinggi) สร้างโดย พระเจ้าอาทิตยวรมัน (King Adityawarman, ค.ศ. 1356 – 1375) มีรูปแบบใกล้เคียงกับ อักษรของอาณาจักรมัชปาหิตมากกว่า เมื่อเทียบกับของอาณาจักรปะชะชะรัน อักษรจารึกเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วน มุมอักษรเป็นรูปโค้งมน ไม่หยัก, อักษรอารบิก ค.ศ. 1297 สร้างโดยสุลต่านมาลิก อัล ซาเลห์ (Sultan Malik Al Saleh), อักษรจารึกของประเทศมาเลเซียที่ได้รับอิทธิพลจากอักษรอารบิก และอักษรจารึกพบที่บาหลี ได้แก่ จารึกเจมปะคะ 100 (Cempaga C, ค.ศ. 1324) และจารึกปะนุลิซัน (Panulisan, ค.ศ. 1430) จารึกเหล่านี้ สวยงามมาก รูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม

    อักษรนาครีรุ่นหลังในจารึกอินโดนีเซีย
    อักษรนาครีที่เก่าที่สุดที่พบในอินโดนีเซีย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรปาละ (Pala) ที่อินเดียเหนือ มีการใช้อักษรชนิดนี้ที่ชวาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยมากจะใช้จารหลักธรรมบนป้ายดินเหนียวใส่ไว้ใน สถูป มีข้อความว่า “เย เหตุ ปฺรภวา ธรฺม ...” ในบาหลี เขตเปชัง (Pejang) มีสถูปที่มีข้อความอย่างเดียวกันนี้ นับร้อยแห่ง มีจารึกหลักหนึ่งอายุสมัยเกรตะเนคะระ (Kretanegara, ค.ศ. 1267 – 1292) จารลงด้านหลังของ ประติมากรรมรูปอโมคปาศะ (Amogapasha) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรของจาลุกยะ (Chalukya) ในรัฐคุชราต (Gujarat) ประเทศอินเดีย ที่มีอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งรูปแบบดังกล่าวไม่ สามารถเทียบกับอักษรจารึกที่เคยพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใดๆ ได้เลย จึงเชื่อกันว่านี่คงเป็นพัฒนาการ เฉพาะถิ่น ไม่ขึ้นกับใคร

    อักษรอินโดนีเซียช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15
    จารึกที่มีอายุอยู่ในช่วง ค.ศ. 1450 มีน้อยมาก อีกทั้งลำดับต่อจากนั้นเป็นยุคมืด (เข้าใจว่าช่วงยุคมืดนี้ น่าจะหมายถึงช่วงที่มีการบุกรุกของโปรตุเกส ค.ศ. 1511 ถึง ค.ศ. 1641 – ผู้เรียบเรียง) ไปจนกระทั่งสิ้น คริสต์ศตวรรษที่ 16 และหลังจากยุคมืด ก็พบว่ามีการใช้อักษรชวาแบบใหม่ในทันที อักษรชวาแบบใหม่นี้ ยังใช้ อยู่จนถึงปัจจุบันโดยมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จารึกหลายหลักถูกพบที่สุระดะกัน (Suradakan) มีอายุหลัง ค.ศ. 1447, จารึกจากมัชปาหิตที่พบก็มีอายุราวสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 14, จารึกตระวุลัน 5 (trawulan 5) และ แผ่นทองสัมฤทธิ์พบที่หมู่บ้านเรเนก (Renek) ก็มีอายุหลัง ค.ศ. 1473 รูปร่างของอักษรโดยรวมค่อนข้างสวยงาม และเป็นรูปสี่เหลี่ยม จารึกบางหลักพบที่ตอนกลางของชวา เช่นเดียวกับ จารึกจันทิ สุกุห์ (Candi Sukuh) มีอายุ หลังปี ค.ศ. 1439 และ 1457 พบที่งาโดนัน (Ngadona), สะลาติคะ (Salatiga) และอีกหนึ่งหลักจาก ภูเขาเมรบา บุ (Merbabu), เสมารัง (Semarang) อายุหลังปี ค.ศ. 1449

    แม้จะเป็นความจริงที่ว่า อินโดนีเซียมีมากกว่า 10 กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ๆ แต่มีเพียง 2 ชาติพันธุ์ที่มี ตัวอักษรเป็นของตัวเอง คือ ชวา และบาหลี ซึ่งอักษรของแต่ละที่ต่างก็สะท้อนให้เห็นรูปแบบของการคลี่คลายอัน เนื่องมาจากอักษรที่มีมาก่อนหน้านั้น หากแต่ว่าอักษรบาหลีปัจจุบันมีรูปแบบที่แตกต่างกับอักษรชวาตรงที่อักษร ของบาหลีมีรูปร่างกลม แต่อักษรของชวาเป็นรูปสี่เหลี่ยม หลังคริสต์ศตวรรษที่ 15 ช่วงทศวรรษแรกนักเขียนชาวอินโดนีเซียเริ่มใช้วัตถุที่ย่อยสลายได้ในงานเขียน เช่น ใบปาล์ม ซึ่งเป็นวัสดุที่เก็บไว้ไม่ได้นาน และหากเปรียบเทียบตัวอักษรของชวาและบาหลีกับตัวหนังสือที่ใช้ ในประเทศไทยและกัมพูชา จะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันในบางส่วน และเชื่อว่าตัวหนังสือของประเทศเหล่านี้ ล้วนมีรากฐานมาจากอักษรปัลลวะเช่นเดียวกัน


    ภาพ เปรียบเทียบอักษรปัลลวะกับอักษรกวิในอินโดนีเซีย (จากเว็บไซต์ http://www.balitouring.com)

    เก็บความและเรียบเรียงจาก :
    Terima, “Bali age people,” ใน Balitouring.com (online) เปิดข้อมูลเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2553 หาข้อมูลจาก http://www.balitouring.com/bali_articles/baliwriting.htm

     
    โปรโมชั่นโรงแรมจากอโกด้า
     
     
    เมืองสำคัญใน อินโดนีเซีย
    อินโดนีเซีย
    1,794โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    239โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    231โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    175โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    144โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    89โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    57โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    34โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    31โรงแรม
    อินโดนีเซีย
    48โรงแรม

    อินโดนีเซีย
    หากคุณกำลังมองหาจุดหมายปลายทางสำหรับวันหยุดใน เอเชีย อินโดนีเซีย นับเป็นสถานที่ซึ่งน่าไปเยี่ยมเยือนและพร้อมต้อนรับทุกคนเสมอ ราคาโรงแรมไม่แพงไม่อาจหาได้ง่ายเสมอไป แต่ agoda.com ให้ความสำคัญกับราคาที่ดีที่สุดในโรงแรมกว่า 3657 แห่งใน อินโดนีเซีย จึงมั่นใจได้ว่าจะได้ราคาที่อัพเดทที่สุด ประเทศนี้ประกอบไปด้วย 33 ภูมิภาคซึ่งพร้อมเสนอทัศนียภาพที่สวยงามหลากหลาย เปี่ยมด้วยวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์อันมีชีวิตชีวา ประเทศนี้ยังมีเมืองที่มีเอกลักษณ์มากกว่า 112 เมืองให้คุณได้ไปสัมผัส เช่น จาการ์ตา, บาหลี, พันคัก ด้วยการรับประกันราคาที่ดีทีสุด เราให้ราคาที่ดีที่สุดในโรงแรมที่ดีที่สุดสำหรับคุณ






     

    หน้าเว็บ